บล็อกสมาชิกวุฒิสภา
Members of the Senate blog
ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน

ลืมรหัสผ่านคลิ้กที่นี่
  หน้าหลัก เว็บไซต์วุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา
search
นายกิตติ วะสีนนท์ นายกิตติ วะสีนนท์ (ปัจจุบัน)  
หน้าหลัก ประวัติและผลงาน บทความ Photo Gallery ติดต่อ

เชื่อมโยงข้อมูลประวัติและผลงาน

ข้อมูลประวัติ

รายการเนื้อหา

folder วิดีโอมัลติมีเดีย
folder บทความน่ารู้เกี่ยวกับวุฒิสภาไทย
folder ผลงานของคณะกรรมาธิการ
folder ความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทย

Photo Gallery



เชื่อมโยงเว็บไซต์


webmail SENATOR 009
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม 18,122 ครั้ง
นับตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2557

สนช. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๗
doc เมื่อเวลา 11:53 น. วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561

วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องมัลติฟังก์ชันนอล ฮอลล์ ชั้น ๒ ศูนย์การประชุม Parliamentary Centre นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกิตติ วะสีนนท์ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และนายวิทวัส บุญญสถิตย์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า (Standing Committee on Sustainable Development, Finance and Trade) ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๗ ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายในหัวข้อ “การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานหมุนเวียน” (Engaging the private sector in implementing the SDGs, especially on renewable energy)
โอกาสนี้ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมอภิปรายว่า “แม้ว่าการที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ จะได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ก็ตาม แต่การจะเคลื่อนไปยังเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยผลักดันโดยเฉพาะภาคเอกชน ซึ่งบริษัทเอกชนในประเทศไทยจำนวนมากได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามเป้าหมาย SDGs โดยการดำเนินธุรกิจไปในทางที่สอดคล้องกับ SDGs บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เน้นเรื่องธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงนวัตกรรมสีเขียว นอกจากนี้ บริษัทของประเทศไทยจำนวน ๑๗ แห่งยังติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) อีกด้วย 
เนื่องด้วยนโยบายของรัฐในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนนี้เอง จึงส่งผลให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนในโครงการพลังงานหมุนเวียนโดยในปี ๒๕๕๙ การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนจากทั้งภาครัฐและเอกชนมีมูลค่าถึง ๑ แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในชีวมวลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๗ ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนจากร้อยละ ๘ ในปี ๒๕๕๘ ไปเป็นร้อยละ ๓๐ ในปี ๒๕๗๙ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ
ประเทศไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้กับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมามากกว่าทศวรรษแล้ว ซึ่งยังได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปยังชุมชน เพื่อให้ชุมชนต่างๆ สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยการใช้พลังงานสะอาด”
ทั้งนี้ คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เสนอแนะต่อที่ประชุมถึงความก้าวหน้าในการใช้พลังงานหมุนเวียนว่า ๑. รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา (R&D) และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของพลังงานหมุนเวียน ๒. ให้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ๓. สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการออกกฎหมายเพื่อให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเป็นไปโดยสะดวกมากยิ่งขึ้น และ ๔. ควรได้บรรจุแนวคิดในเรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ให้มีขึ้นในหมู่เยาวชนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไป

S__2252834 S__2252835 S__2252836


Share
 
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เลขที่ 499 อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
ศูนย์บริการ (Call Center) โทร. 028315888-9 โทรสาร. 028315889
© 2007 Senate Thailand. Allright reserved.